คลังเก็บหมวดหมู่: multimedia

การเล่นไฟล์เสียงต่อเนื่องกัน

เวลาทำระบบคิว เราจะเห็นได้ว่า จะมีเสียงเรียกคิวตามหมายเลขและเคาท์เตอร์ที่กำหนดได้ คงไม่มีใครทำรอไว้ทุกแบบ ก็น่าจะใช้วิธีการเล่นไฟล์ที่ต้องการแบบต่อเนื่องกันไป

ผมก็ลองอัดเสียงหล่อๆของตัวเอง (แหวะ ฮ่าๆ) แล้วก็ตัดมันออกเป็นหลายๆไฟล์ แล้วก็หาวิธีเล่นมันอย่างต่อเนื่อง ตัวโปรแกรมที่สามารถเล่นได้ก็มีหลายตัว ที่ผมลองแล้วก็มี gstreamer และ sox ครับ

จากการลองใช้งานทั้งคู่ ซึ่งเป็น command line ดู sox จะให้คุณภาพเสียงที่ดีกว่า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ผมใช้ค่า default ในการเล่นนะ ไม่ได้ปรับแต่งค่าใดๆ

เกริ่น QML animations & transitions

Screenshot from 2015-08-06 23:05:48 Screenshot from 2015-08-06 16:59:47

เคยเขียนไปเมื่อนานมาแล้วว่า สิ่งที่น่าสนใจของ QML อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญก็คือ animation & transitions วันนี้ก็ได้มีโอกาสลองเล่นและเรียนรู้ ก็ต้องทำความเข้าใจกับมันพอสมควรเมื่อเริ่มต้น ตอนนี้ผมก็ยังงูๆปลาๆอยู่เลยครับ อิอิ

ด้วยความตั้งใจแต่เริ่มแรกคือ คำถามที่ค้างคาใจมานานว่า ไม่มีอะไรมาแทน flash และ action script เลยเหรอ สำหรับการทำ cg บน tv เพราะโปรแกรมอย่าง CasparCG นั้นก็ใช้ flash ที่นี้ถ้าเราต้องการทำระบบ live streaming เองละ จะใส่กราฟิกและอนิเมชั่นลงไปได้ยังงัย

คราวก่อนผมลอง cairo overlay ลงบน gstreamer element แค่ใช้เวลาเอา svg ขึ้นเนี่ยก็นานแล้วครับ และถ้าต้องโหลดเยอะๆ ดูเหมือนก็จะมีผลต่อ performance เหมือนกัน

คราวนี้เลยลองใหม่ ใช้วิธีเขียน QML application เลย แล้วค่อยทำ screencast เฉพาะส่วน ผมลองเอาไปถ่ายทอดสดลงบน youtube ก็ได้ดังที่เห็น

อ่าว หมดแรงเล่าซะละ ต่อคราวหน้าครับ

credit : กราฟิกสนาม Designed by Freepik.com

Video Compositing with LibCairo

ในที่สุดก็ได้ฤกษ์เอา BlackMagic DeckLink Studio ออกมาเล่นอะไรสักอย่างสักทีครับ ดองไว้เป็นปีละ จริงๆซอฟแวร์ทำ Cg ฟรีๆก็มี ดูน่าจะดีด้วย นั่นคือ CasparCG ซึ่งรองรับ DeckLink ซะด้วย เพียงแต่มันไม่มีเวอร์ชั่นบน Linux ก็เลยปล่อยผ่านไปก่อน

วันนี้จึงได้ทำการทดลองเขียนโปรแกรม เอาภาพวิดิโอจาก webcam USB นี่ละ เพราะรอ กล้อง SDI 720p จากจีนอยู่ยังไม่มาสักที ไม่งั้นคงได้ทดสอบการ์ด DeckLink ในการรับอินพุตด้วยแล้ว ซึ่งการ์ดในตระกูล DeckLink นั้นมี driver รองรับสามารถใช้กับ Linux ได้เกือบทุกรุ่นครับ แม้กระทั่งรุ่นเล็กราคาไม่กี่พันบาท จึงเป็นทางเลือกที่ีดีทางหนึงในการเอามาใช้งาน

IMG_0080-s

ส่วนประกอบหลักของโปรแกรมก็คือ GStreamer ครับ ผมเขียนด้วย C โดยมี Elements หลักๆก็คือ v4l2 source, libcairo และ decklink sink นั่นเอง เพื่อทดสอบว่าเราก็สามารถทำ graphics บน tv แบบง่ายๆได้โดยใช้เครื่องมือไม่ต้องมากมายหรือแพงๆ ตัวอย่างนี้ผมลองใส่ตัวอักษรวิ่งกับนาฬิกาเข้าไป ซึ่งส่วนประกอบของนาฬิกานั้นมาจากไฟล์ svg

ลองนึกถึงการถ่ายทอดสดลง youtube เล่นๆเวลามีกิจกรรมอะไร หรืออยากทำรายการเป็นของตัวเอง แล้วใส่กราฟิกเข้าไปแบบเรียลไทม์ได้ ก็ทำให้ดูโปรขึ้นมากเลยทีเดียว อิอิ (ผมคิดเอาเองนะครับ)

libcairo ค่อนข้างเป็น lib พื้นฐานต้องเหนื่อยเหมือนกันหากอยากได้กราฟิกที่ซับซ้อนเหมือน flash ก็หวังไว้ว่าอีกไม่นาน จะมีปลั๊กอิน QML ทำได้ในลักษณะอย่างนี้เหมือน libcairo ซึ่งก็น่าจะทำให้ทำอะไรได้ง่ายขึ้นอีกไม่น้อยเลยครับ

ทำระบบคาราโอเกะ Karaoke with PCDuino3 Nano

เมื่อทำการทดสอบ 2d/3d ไปแล้ว ทีนี้มาลองทดสอบ multimedia กันบ้างครับ โดยข้อมูลจาก linux-sunxi เค้าบอกว่า เราสามารถเล่นไฟล์มัลติมีเดียได้โดยอาศัย vdpau ผ่านทางโปรแกรม mplayer

แต่เมื่อทดลองใช้งานแล้วปรากฎว่า ตัวที่ทางผู้ผลิต install มาให้นั้น น่าจะเป็นเวอร์ชั่นเก่าครับ ต้องลง mplayer2 จาก repository แทนมันถึงจะไปเรียกใช้ vdpau ได้ แต่ก็ดูเหมือนจะมีปัญหาอีก ตรงนี้คงต้องหาข้อมูลต่อ เพราะหลายๆคนแนะนำให้ไปใช้ mpv ซึ่ง fork มาจาก mplayer แทน

พอดีถนัดใช้งาน gstreamer เลยตัดสินใจลง gstreamer 0.10 และทดสอบใช้งานดู ปรากฎว่าเล่นได้ครับ

ผมทดลองเล่นไฟล์ h.264 1080p โดยไม่ใช้ความสามารถของ hardware decoder ช่วย ก็ไม่สามารถเล่นได้อย่างราบรื่นนะครับ แถมกิน cpu ไปหมดทั้งสองคอร์ เมื่อเปลี่ยนมาใช้ vdpau ช่วย ก็สามารถเล่นได้สบายๆครับ

เมื่อผ่านขั้นตอนทดสอบความสามารถก็มาถึงขั้นตอนการพัฒนาอะไรขึ้นมาบ้าง โดยมีโจทย์มาให้ทำระบบเล่นคาราโอเกะ ครับโดยมีความสามารถในการตัดเสียงร้องออกได้ (กรณีที่ไฟล์ต้นฉบับ ใส่เสียงร้องไว้ channel หนึ่งนะครับ) ก็เลยลองทำโดยการใช้วิธี ตัดเสียงจาก channel เดิม ออก แล้วใส่ เสียงจากอีก channel เข้าไปแทน จึงกลายเป็น mono 2 channels ( LR -> LL or RR )  ทำให้เสียงยังคงออกลำโพงทั้งสองข้างได้

20141027142125-s

ก็ทดลองทำให้มันสลับไปมาได้ กว่าจะทำเสร็จก็ร้องเล่นเองไปหลายรอบๆ อิอิ

อันนี้ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งในการใช้งานบอร์ดนี้นะครับ ข้อดีอย่างที่บอกไป ลดการใช้พลังงาน ลดต้นทุน ได้หลายๆครับ

Streaming Server : beta version

ตัว beta เสร็จละครับ ลองดูการทำงานของมันจากวิดิโอดูนะครับ แผนงานต่อไป คือ ทำ โปรแกรม signage ฝั่ง client ให้เนียนๆ ใช้งานง่าย

Linux DVR demo program

ความเดิมจากตอนที่ แนะนำ ฮาร์ดแวร์ซึ่งก็คือ DVR card จาก Adlink และ Yuan  ไปแล้ว วันนี้จะมาเดโมให้ดูกับโปรแกรมที่เพิ่งเขียนขึ้นมาใหม่ครับ ( เขียนตอนหยุดปีใหม่นี่เอง เสร็จตอนเวลาข้ามเที่ยงคืนวันสิ้นปีมาหน่อยเดียว อิอิ ) โดยโปรแกรมนี้รันบน Kubuntu ด้วยเครื่อง VIA VB8001 จับคู่กับ Yuan ตัวเก่านั่นแล

จริงๆ ตอนแรกจะเขียนเรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วย DBUS ที่เคยเกริ่นเอาไว้เมื่อนานมาแล้ว ก็เลยเอาโปรแกรมที่เขียนแล้วใช้ DBUS มาโชว์ให้ดูด้วย จะได้เห็นภาพการใช้งานได้ง่ายขึ้น ก็เลยยกยอดเอาไปตอนหน้าละกัน อิอิ สำหรับการเขียนโปรแกรม

ระบบนี้ประกอบด้วยสองโปรแกรม ตัวแรกรันเป็น backend รับสัญญาณภาพจาก DVR มาทั้ง 4 แชนแนล โปรแกรมตัวที่สอง คือตัวแสดงผลภาพที่ส่งมาจากโปรแกรม backend และรอรับอินพุตจากคีย์บอร์ด ที่สามารถกดคีย์เพื่อเลือกดูทีละแชนแนลก็ได้ หรือ ดูรวม 4 แชนแนลก็ได้ โดยผมใช้ DBUS ตรงนี้แหละ เมื่อมีการกดคีย์บอร์ดในโปรแกรมแสดงผล ก็จะเป็นการเรียกเมธอดแบบข้ามโปรเซสไปที่โปรแกรม backend เพื่อเป็นการเลือกแชนแนลของสัญญาณภาพจะที่ส่งออกมา ผมใช้วิธีนี้เพราะเดี๋ยวจะเอาไปไว้ควบคุมโปรแกรมที่ใช้บันทึกวิดิโอด้วย

ก็ดูผลลัพธ์ของตัวโปรแกรมทั้งสองเอาละกันครับ จริงๆ ผมทดลองเอา module GPS + บอร์ด Arduino ใช้ส่งตำแหน่ง ความเร็ว ออกมาได้แล้ว ( อันนี้ไม่ได้เขียนโปรแกรมเองเลย เอาโค้ดเค้ามาใช้ทั้งหมด แค่ออกแรงบัดกรีนิดหน่อย ) ว่าจะเอามาเขียน overlay ทับลงบนภาพวิดิโอ แต่ขอยกไว้ตอนต่อๆไปละกัน เพราะโมดูล GPS ที่ว่ามันของถูกๆจากบ้านหม้อ พอเข้าบ้านแล้วมั่วเลย (แต่ลองบนรถตอนขากลับมาจากต่างจังหวัด ก็ถูกต้องรวดเร็วดีนะ)

หมายเหตุ : ผมขอแก้หน่อย ชอบบอกว่า DBUS คล้าย DCOM อยู่เรื่อย จริงๆแล้วยังไม่ใช่นะครับ ยังไม่ถึงขนาดนั้น ถ้าให้เจาะจงจริงๆ มันเหมือน COM แบบ out of process มากกว่าครับ