พอดีจะใช้งาน RFID หลายๆแบบ ก็เลยต้องทบทวนความรู้กันนิดหน่อย ส่วนใหญ่เอามาจาก http://www.idautomation.com/barcode-faq/rfid/ และ http://blog.atlasrfidstore.com/
RFID (Radio Frequency Identification) เอามาใช้งานในด้าน ระบุตัวตน, access control เดี๋ยวนี้เอามาใช้งานหลากหลายขึ้น เช่น เก็บค่าทางด่วน, logistics, supply chain
ชนิดของ tag แบ่งตามความถี่ที่มันทำงาน
- Low frequency, or LF, (125 – 134 kHz)
- High frequency, or HF, (13.56 MHz)
- Ultra-high frequency, or UHF, (433, and 860-960 MHz)
LF, HF, UHF ต่างก็มีข้อดี ข้อเด่นต่างกันไป เช่น LF ทะลุผ่านแผ่นโลหะบางๆได้ แต่ระยะการอ่านก็ได้เพียงสั้นๆ ส่วน UHF อ่านเขียนความเร็วสูงกว่า ระยะไกลกว่า แต่ก็ถูกลดทอนได้ง่ายกว่า
การเก็บข้อมูลใน tag แบ่งเป็น 3 ชนิด
class 0 – data ถูก encoded หรือ เขียนลงไป จากโรงงาน เรียกว่าเป็น read-only tag
class 1 – เอามาเขียนเองได้ แต่ได้แค่ครั้งเดียว เรียกอีกแบบ ว่า GEN1
class 1 GEN 2 EPC – อ่านเขียนได้หลายครั้ง มีฟีเจอร์เพิ่มเติมเข้าไปได้ เช่น lock after write, CRC read verification
ข้อดีของการใช้ RFID นั้นมีเยอะ ดูได้จากการเอามาใช้งานในหลายด้าน มาดูข้อเสียดีกว่า
ข้อเสีย
- เนื่องจากมันใช้สัญญาณวิทยุ ดังนั้น ถ้ามีการรบกวนเกิดขึ้น การอ่านก็จะทำไม่ได้ คือ มองไม่เห็น tag นั่นคือเรื่องของความแม่นยำของข้อมูล เช่น ในโกดัง ถ้าอ่านไม่เจอ tag อาจไม่ได้หมายความว่ามันไม่ได้อยู่ที่นั่นก็ได้ อาจจะโดนอะไรบังหรืออยู่ในตำแหน่งที่เครื่องอ่านไม่สามารถอ่านได้
- สาเหตุเดียวกับข้อแรก มันก็อาจจะถูกดักจับข้อมูล โดยผู้ไม่หวังดีได้
ชนิดของหน่วยความจำใน GEN 2 tag แบ่งได้เป็น 4 ชนิด คือ
- reserved – เอาไว้ เก็บ access และ killing password
- EPC – มีขนาดทั่วไปอย่างน้อย 96 bits เอาไว้เก็บ Electronics Product Code ตามชื่อมันนั่นเอง
- TID – เก็บ tag ID เปลี่ยนแปลงไม่ได้
- user – เป็น memory ส่วนที่เพิ่มเติมเข้า ให้ user สามารถเก็บข้อมูลลงไปเพิ่มเติมได้ ขนาดก็มีได้หลายขนาด เช่น 1k, 4k หรือ 8k bytes