คลังเก็บหมวดหมู่: Raspberry Pi

I-IoT

ช่วงสิ้นปีมีโอกาสทำการทดลองสองสามตัวที่เกี่ยวข้องกับ I-IoT
เริ่มด้วย
1. ใช้ Raspberry Pi อ่านสัญญาณจาก ultrasonic sensor ส่งเข้า HMI software ผ่านทาง Modbus TCP ก็เหมือนกับเป็นการทดลองทำระบบ SCADA นั่นเอง

2. อ่านค่าจาก เซ็นเซอร์ ด้วยโปรโตคอล Modbus RTU ผ่านทาง RS485 แล้วส่งให้ software น่าจะเรียกได้ว่าเป็น edge software อย่าง KEPServerEX ที่ทำตัวเป็น OPC UA server แล้วให้ Node-RED ไปดึงข้อมูลมาแสดงผล โดยการสร้าง dash board และสามารถดูได้บน web browser

 

3. ส่วนอีกแบบหนึ่ง สำหรับระบบ SCADA เดิม ที่สามารถ export ข้อมูลออกมาเป็น csv หรือ excel ได้ อยากจะเอาข้อมูลการ operate ขึ้นเว็บออนไลน์ เพื่อทำการวิเคราะห์และแสดงผลออกมาเป็น ตาราง หรือ chart ต่างๆโดยไม่ต้องไปยุ่งกับระบบเดิมมากนัก ก็ใช้วิธีทำ dash board ด้วย การเขียน web application ขึ้นมาต่างหาก แล้วโยนไฟล์ที่ export ออกมาขึ้นไปให้

ใครที่สนใจต้องการทำ dash board  ติดต่อได้ครับ ผมรับงานนะครับ อิอิ

LoRa

ลองสั่งทำ PCB บอร์ดมาจากต่างประเทศ สำหรับการทำเดโมหรือทดลอง ราคาไม่แพงเลยครับ เดี๋ยวนี้ไอซีทำออกมาเป็นโมดูลมากขึ้น ทำให้เราเอามาพัฒนาต่อยอดได้ง่ายและรวดเร็วกว่าเมื่อก่อน ดูอย่างเจ้า LoRasPi ที่ผมสั่งทำจำนวนไม่กี่บอร์ดก็ยังทำให้ได้ รายได้ก็กลับไปที่นักพัฒนาด้วย CooL!

แต่ว่ายังไม่ได้สั่งโมดูล LoRa เข้ามาจำหน่ายเลย รอก่อนนะเจ้าบอร์ด เอิ๊ก เอิ๊ก

IMG_20160823_104300-s

รีโมทควบคุมหุ่นยนต์

2wheels-3

วันก่อนทดลองประกอบโครงรถหุ่นยนต์ที่จำหน่ายในร้าน ioteshop การควบคุมมอเตอร์ก็ใช้ arduino ร่วมกับโมดูล tb6612fng ก็ง่ายดีครับ หากเป็นระบบอัตโนมัติ เช่น หุ่นยนต์เดินตามเส้น ก็ใช้เซนเซอร์อินฟราเรดในการตรวจจับเส้นเพื่อนำทาง แต่พอมาคิดว่าอยากจะมีรีโมทควบคุมมันได้เนี่ยก็มองหา โซลูชั่น หลายๆอันดู เช่น

  1. จอยต่อกับโมดูล nrf24l01
  2. wifi to serial
  3. bluetooth
  4. raspberry pi

1 กับ 2 ก็น่าสนใจ ติดตรง ต้องหาจอยมาใช้ร่วมกัน ขอหาก่อน
3 กับ 4 นี่ คิดถึง wiimote ขึ้นมา wiimote เป็น HID device (เหมือนเมาส์ คีย์บอร์ด จอยสติ๊ก) ใช้ bluetooth ในการสื่อสาร มันมีประเด็นขึ้นมาให้เลือกคือ

A. ถ้าเลือกใช้ arduino ต่อ จะคุยกับ HID bluetooth device ได้ ต้องมี USB host shield และ bluetooth USB dongle วิธีนี้โค้ดที่เคยเขียนควบคุมมอเตอร์ไม่ต้องเปลี่ยน

B. ถ้าเลือกใช้ raspberry pi แทน มี usb port ให้เสียบ bluetooth dongle หรือ ถ้าเป็น pi 3 ก็มีให้เลย(แต่แค่ควบคุมหุ่นยนต์ ไม่น่าใช้ น่าจะเปลืองแบตกว่า pi1 หรือ pi2) แต่ ต้องหาทางควบคุมทิศทางและความเร็วของมอเตอร์ ซึ่งถ้าจะใช้ hardware ก็ง่าย มีบอร์ด pwm เช่นของ adafruit เอามาต่อใช้ หรือถ้าจะเป็น software ก็ใช้ pi-blaster ซึ่งใช้ DMA ในการควบคุม เท่าที่ดูก็มีความแม่นยำโอเค

อืม ตกลงว่า ลองข้อ A ก่อนละกัน น่าจะง่ายที่สุด bluetooth usb dongle ก็มีอยู่แล้ว เหลือสั่ง usb host shield มาเท่านั้น

แต่ถ้าของมาช้า ก็อาจจะลอง B ก่อน ไว้จะมาอัพเดต ตอนต่อไป

อัพเดต พอดีไปเจอ joystick shield สามารถใช้ร่วมกับ nrf24l01 และ arduino ทำเป็นรีโมทคอนโทรลได้ ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกครับ

Qt5.6/OpenCV compilation on Raspbian Jessie

ยังไม่ได้ลอง Raspberry Pi 3 ตัวใหม่เลยครับ แต่วันนี้จะมาเล่าเรื่องการคอมไพล์ Qt และ OpenCV ให้ฟัง

สืบเนื่องจากการใช้งาน Qt บน Wheezy จากการทำ cross compilation ตาม http://www.ics.com/blog/building-qt-5-raspberry-pi ไปใช้งานคราวก่อน มีปัญหากับ qml/UI ไม่ทราบว่าเป็นเพราะอะไรเหมือนกัน พอต้องพัฒนาโปรแกรมต่อก็เลยตัดสินใจย้ายมา Jessie ตัวล่าสุด นี่อาจเป็นการตัดสินใจที่พลาดอีกครั้ง อย่างไรก็ดี ปัญหามีไว้ให้แก้ครับ ก็เลยตัดสินใจเปลี่ยนมาใช้ Qt5.6 ซะเลย ซึ่งก็นั่งคอมไพล์ใหม่เนื่องจาก ไม่อยากใช้งานแพคเกจ Qt/x11 ซึ่งทำให้การบูทช้า ก็เลยทำตาม https://wiki.qt.io/RaspberryPi2EGLFS ทำให้ได้ใช้ Qt แบบ cross platform development กะเค้ามั่ง ทดสอบ QML/UI แล้วไม่มีปัญหา

ต่อมาก็มาถึงเรื่องการใช้งาน OpenCV แน่นอนว่าก็ต้องใช้กับ RaspiCam เพื่อดีงภาพจากกล้อง ปัญหามันอยู่ตรงนี้ละฮะท่านผู้ชมฮะ เกิดปัญหาว่า compiler ของ cross กับบน jessie เวอร์ชั่นไม่ตรงกัน ซึ่งของ cross จะเก่ากว่าบน jessie ทำให้การคอมไพล์โปรแกรมไม่สำเร็จ หลังจากที่หาทางแก้อยู่สองวันสองคืน ก็สรุปได้ว่า ต้องกลับไปใช้ gcc4.8 สำหรับ jessie แล้วคอมไพล์ OpenCV ใหม่ รวมถึง dependency หรือ 3rd party ของมันด้วย จึงจะสามารถทำงานต่อได้

Screenshot from 2016-03-25 12:03:22การเขียนโปรแกรมจึงไม่ใช่แค่การเขียนโปรแกรมนะครับ …